วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ปัญหาแก้ว



ปัญหาที่พบมากคือ ปัจจุบันนี้เมื่อออกไปใช้ชีวิตนอกบ้าน ที่ทำงาน สิ่งที่พบกันอยู่บ่อยๆคือ ปัญหาการใช้แก้วน้ำดื่ม แก้วเหมือนจะเป็นปัญหาเล็กๆที่ถูกละเลยที่จะรณรงค์ คนมักจะหันไปใส่ใจกับปัญหาอื่นมากกว่า เช่น ปัญหาการใช้ถุงพลาสติก เรื่องการขนส่ง พลังงานเชื้อเพลิง และทรัพยากรต่างๆ
เมื่อลองคำนวนดูแล้วแก้วก็เป็นการเพิ่มจำนวนขยะอยู่มาก เมื่อมองดูปัญหาการใช้ หนึ่งคนต่อหนึ่งแก้ว หรือบางคนอาจจะมากกว่าหนึ่งแก้ว ยิ่งตามสำนักงาน หรือบุคคลวัยทำงานในองกรค์ต่างๆ ที่นิยมบริโภคชากาแฟในแต่ละวัน ตามร้านอาหารฟาตฟูส หรือแม้แต่ตามข้างถนน เป็นเรื่องที่เห็นซ้ำๆ

แก้ว
แก้วจะแยกเป็นสีๆ เวลานำไปหลอมเพื่อทำการผลิตใหม่ แบ่งเป็นแก้วใส แก้วเขียว และแก้วสีชา/น้ำตาล แก้วควรจะได้รับกลับไปรีไซเคิลมากกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ เพราะไม่ใช่แต่เรื่องของการสิ้นเปลืองทรัพยากรเท่านั้น แต่แก้วยังแตกง่าย เป็นอันตรายต่อคนที่อยู่ในระบบจัดการขยะ ทำให้สายพานหรือเครื่องมืออื่นๆ ที่ใช้ในการคัดแยกขยะเสียหาย การรีไซเคิลแก้ว ช่วยลดการใช้พลังงาน เพราะการนำแก้วเก่าไปหลอมใหม่จะใช้ความร้อนที่ต่ำกว่าการผลิตจากวัตถุดิบใหม่ได้มาก และยังประหยัดทรัพยากรได้หลายอย่าง เช่น ทรายละเอียด แร่ที่ต้องนำมาจากภูเขา และสารเคมีอื่นๆ ที่ต้องนำเข้า เป็นต้นแก้วที่เราใช้กันในชีวิตประจำวันมักจะเป็นขวด

และยังมีแก้วน้ำจำพวกที่เป็นพลาสติก โฟม ที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน แก้วน้ำ กระปุกใส่อาหารต่างๆ เมื่อใช้เสร็จแล้ว และจะทิ้งเพราะเก็บไว้ใช้ประโยชน์อื่นไม่ได้ เราเพียงกลั้วน้ำล้างให้สะอาดจากเศษอาหารที่จะบูดเน่า แล้วก็เก็บไว้ขายหรือให้ซาเล้ง จัดอยู่ในประเภทขยะพลาสติก

พลาสติกเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปิโตรเคมี จึงมีหลายประเภท เราสังเกตได้จากหมายเลขที่ปั๊มไว้ที่ก้นภาชนะนั้นๆ (Cryptic Marker) พลาสติกส่วนมากจะรีไซเคิลได้ แต่ต้องคัดแยกกันสักนิด เพราะไม่ใช่ทุกหมายเลขที่จะรีไซเคิลได้ ถ้าเป็นเบอร์ 1 (Polyethylene Terephthalate (PET) – เช่น ขวดน้ำดื่ม หลอดใส่ครีมกันแดด) และ 2 (High-Density Polyethylene (HDPE) – เช่น ขวดนม ขวดน้ำมัน) จะรีไซเคิลได้แน่ๆ การรีไซเคิลพลาสติกต้องแยกให้ถูกต้องตามแต่ละประเภท เพราะจะมีผลต่อการผลิตมาก

แก้วที่รีไซเคิลไม่ได้ คือ กระจก กระจกเงา หลอดไฟ เซรามิค/Pyrex (http://www.efe.or.th/)

ไม่มีความคิดเห็น: