วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2554

ซิน จ่าว เวียดนาว :D

ยามเย็นบนถนนในโฮจิมิน
จราจรสไตล์เวียดนาม
มื้อแรกที่มาถึงก็ขอไรเย็นๆซักหน่อย


อัมสเตอร์ดัมมาอยู่ที่นี่ได้ไงโวะ?

แหล่งช๊อปในโฮจิมิน




อีกวันเต็มๆ เหลืองสดใสในฮอยอัน


ขายทุกอย่าง
ร้านรวงยามค่ำคืนในฮอยอันสวยไปอีกแบบ (แบบเบลอๆ)


ของที่ละลึกบ้านๆเก๋ๆ


วันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

lovely stationery :D




แนะนำเวปน่ารักๆของ Jonathan Adler’s collection of stationery
มีแต่ของจุ๊กจิกกับลายแพทเทินสวยๆสีสันน่าใช้ :) ดูเพลิน

วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2553

malingtext





หัดเล่นเพลินมากยังไม่เนียน แต่อีกสิบปีก็ยังไม่สายเนอะ ^^
น่าลองเอาไปขยับเล่นให้เป็นงานโมชั่น
แบบในทีเซอร์หนัง
หะหะคิดเยอะไปละ โมชั่นทำทีใช้เวลาเปลืองมาก


วันอังคารที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2553

GRAFIX: Design Thailand by Thai Graphic Designers Association (ThaiGa)















ช่วยกันโปรโมทคะ

โครงการบริการสาธารณะ “Grafix : Design Thailand”
โดย สมาคมนักออกแบบเรขศิลป์ไทย (ThaiGa)


เนื่องจากสถานการณ์ความไม่ สงบอันก่อให้เกิดความเสียหายกับประเทศไทยมาตลอดตั้งแต่เดือนมีนาคม 2553 จนถึงปัจจุบันส่งผลให้เกิดความสูญเสียอย่างมากมายและแพร่หลายไปทั่วทั้งต่อ สังคมโดยรวมรวมและส่วนบุคคลโดยเฉพาะมีผู้ประกอบกิจการมากมายทั้งรายเล็กราย น้อยจนถึงรายใหญ่ที่ประสบปัญหาในการประกอบการของตนเอง ส่งให้เกิดผลกระทบตามมาอีกมากมายทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจ

สมาคมนัก ออกแบบเรขศิลป์ไทยเห็นว่าหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ จะมีคนจำนวนไม่น้อยที่จะต้องเริ่มต้นอาชีพของตัวเองหรือเริ่มกิจการใหม่อีก ครั้ง อีกทั้งโครงการต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจะต้องกลับมาดำเนินการต่อไปอย่างยากลำบาก และคาดว่าจะมีโครงการและกิจกรรมสาธารณะเชิงสังคมเกิดขึ้นมาอีกมากมาย เพื่อสาธารณะประโยชน์อันเกี่ยวเนื่องมาจากเหตุการณ์ดังกล่าว


สมาคม นักออกแบบเรขศิลป์ไทยในฐานะองค์กรทางวิชาชีพได้พิจารณาถึงบทบาทและแนวทางการ มีส่วนร่วมในการฟื้นฟูประเทศไทยให้กลับมาเป็นสังคมที่น่าอยู่และมีศักยภาพ ขึ้นมาอีกครั้ง โดยสมาคมฯ จะเป็นตัวกลางรวบรวมนักออกแบบเรขศิลป์ (graphic designer)ที่มีจิตอาสาจะช่วยเหลือและสนับสนุนภาคส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานรัฐ บริษัท ห้างร้าน และบุคคล ด้วยงานออกแบบเรขศิลป์ (graphic designer) ภายใต้โครงการที่มีชื่อว่า “Grafix : Design Thailand”



โครงการ “Grafix : Design Thailand” คือสื่อกลางที่รวบรวมนักออกแบบเรขศิลป์อาสาไว้ให้บริการงานออกแบบเรขศิลป์ (graphic design)ให้กับผู้ประกอบการตั้งแต่รายย่อยจนถึงบริษัทห้างร้าน โครงการต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่ผ่านมา ทั้งนี้ยังรวมไปถึงโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้นเพื่อสาธารณะประโยชน์อันเกี่ยวเนื่องมาจากเหตุการณ์ดัง กล่าว โดยผู้ประกอบกิจการที่มีความต้องการงานออกแบบเรขศิลป์ (graphic design)สามารถเข้าไปดูรายชื่อ, ข้อมูลติดต่อและตัวอย่างผลงาน (portfolio) ของนักออกแบบอาสามัครทั้งที่เป็นบริษัทและบุคคลได้ที่ www.thaiga.or.th/grafix (สามารถใช้ได้ในวันที่ 1 มิ.ย. 2553)

ข้อ ชี้แจงสำหรับนักออกแบบ/บริษัท เรขศิลป์ ที่ประสงค์เข้าร่วมโครงการ

1. นักออกแบบเรขศิลป์ที่มีความประสงค์จะเข้าร่วมเป็นอาสาสมัครสามารถส่งราย ละเอียดมาได้ทางอีเมล์ grafix@thaiga.or.thโดยระบุรายละเอียดของท่านดังนี้
1.1. ชื่อ-นามสกุล หรือชื่อบริษัท
1.2. เบอร์โทรศัพท์
1.3. อีเมล์
1.4. เว็บไซต์หรือเว็บบล็อก (ที่สามารถเข้าไปชมผลงานได้)
1.5. ภาพ profile สำหรับลงในเว็บขนาด 48x48 pixels

2. เมื่อได้รับการติดต่อจากผู้ขอรับบริการ จะต้องขอหลักฐานเบื้องต้นที่ชี้แจงผลกระทบที่ท่านได้รับอันเนื่องมาจาก เหตุการณ์ความไม่สงบที่ผ่านมาจากผู้ที่ติดต่อเข้ามา หลักฐานดังกล่าวไม่จำกัดรูปแบบ ทั้งนี้เป็นไปเพื่อความมั่นใจของท่านในการดำเนินงานออกแบบเท่านั้น

3. ควรพิจารณาขอบเขตและรายละเอียดก่อนจะรับงานมาดำเนินการ ทั้งนี้ทางสมาคมฯ ใคร่ขอความร่วมมือในการงดเว้นค่าบริการทางวิชาชีพหรือถ้าจำเป็นขอให้คิดค่า บริการในอัตราต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้

4. ควรมีเอกสารสรุปขอบเขต ปริมาณงาน ระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการทำงานให้ชัดเจนกับผู้ติดต่อขอรับบริการเพื่อความ เข้าใจที่ตรงกันของทั้งสองฝ่าย

5. โครงการนี้เกิดขึ้นด้วยเจตจำนงที่เป็นจิตสาธารณะท่ามกลางสถานการณ์บ้านเมือง ที่เสียหาย มีวัตถุประสงค์ให้นักออกแบบเรขศิลป์ได้มีโอกาสใช้ศักยภาพทางวิชาชีพของตน ช่วยเหลือสังคมตามกำลังของแต่ละคน จึงใคร่ขอชี้แจงไว้ ณ โอกาสนี้ว่า นักออกแบบอาสามัครแต่ละคน แต่ละบริษัทฯ ไม่ควรปฏิเสธงานด้วยเหตุผลเรื่องความน่าสนใจหรือความท้าทายทางความคิดสร้าง สรรค์ หากท่านพิจารณาแล้วว่างานที่ติดต่อเข้ามาอยู่ในวิสัยที่สามารถดำเนินการได้ ใคร่ขอให้รับดำเนินการ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาว่ามีผู้ติดต่อเข้ามาแต่ถูกปฏิเสธโดยไม่มีเหตุผล อย่างไรก็ตาม นักออกแบบท่านใดเมื่อเกิดความขัดข้องในการดำเนินการประการใด สามารถติดต่อตัวแทนสมาคมฯ ได้ที่อีเมล์ grafix@thaiga.or.th

ข้อชี้ แจงสำหรับผู้ประกอบกิจการ


1. ผู้ประกอบกิจการที่มีความประสงค์ที่จะรับบริการงานออกแบบในเงื่อนไขที่กล่าว มา สามารถติดต่อโดยตรงกับนักออกแบบหรือบริษัทออกแบบที่มีรายชื่ออยู่ในหน้าเว็บ ไซต์ โดยท่านจะต้องเตรียมหลักฐานเบื้องต้นที่ชี้แจงผลกระทบที่ท่านได้รับอัน เนื่องมาจากเหตุการณ์ความไม่สงบที่ผ่านมาต่อนักออกแบบที่ท่านติดต่อได้โดย ตรง (เช่น ภาพถ่าย หรือเอกสารแสดงความเป็นเจ้าของกิจการ ฯลฯ สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้จากนักออกแบบที่ท่านติดต่อได้เช่นกัน)


2. การให้บริการของนักออกแบบเรขศิลป์ในโครงการนี้ จะมีทั้งอาสาสมัครที่จะให้บริการโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายในการออกแบบและการคิด ค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขหลายประการ อาทิ สถานะความเดือดร้อนของผู้ประกอบกิจการ, ขอบเขตและปริมาณของงาน และ ความพร้อมของนักออกแบบที่เข้าร่วมโครงการ (ทั้งนี้นักออกแบบบางคนหรือบริษัทออกแบบแบ่งแห่งก็ตกอยู่ในสภาพผู้ได้รับผล กระทบเช่นกัน) เป็นต้น


3. เนื่องจากปฏิเสธไม่ได้ว่าการให้บริการงานออกแบบนั้นเกี่ยวข้องกับความพึงใน ส่วนบุคคลอยู่ด้วย ผู้ขอรับบริการควรพิจารณาเลือกนักออกแบบที่มีแนวทางการออกแบบที่สอดคล้องกับ ความต้องการจากเว็บไซต์ของนักออกแบบที่มีลิงค์อยู่ในเว็บไซต์ www.thaiga.or.th/grafix
(สามารถใช้ได้ในวันที่ 1 มิ.ย. 2553)

4. ควรมีเอกสารสรุปขอบเขต ปริมาณงาน ระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการทำงานให้ชัดเจนกับนักออกแบบที่ท่านติดต่อเพื่อ ความเข้าใจที่ตรงกันของทั้งสองฝ่าย


5. โครงการนี้เกิดขึ้นด้วยเจตจำนงที่เป็นจิตสาธารณะท่ามกลางสถานการณ์บ้านเมือง ที่เสียหาย มีวัตถุประสงค์ให้นักออกแบบเรขศิลป์ได้มีโอกาสใช้ศักยภาพทางวิชาชีพของตน ช่วยเหลือสังคมตามกำลังของแต่ละคน จึงใคร่ขอชี้แจงไว้ ณ โอกาสนี้ว่า นักออกแบบอาสามัครแต่ละคน แต่ละบริษัทฯ ย่อมจะมีความสอดคล้องต่อความต้องการของท่านแตกต่างกันออกไป ดังนั้นเมื่อเกิดความขัดข้องในการดำเนินการประการใด สามารถติดต่อตัวแทนสมาคมฯ ได้ที่อีเมล์ grafix@thaiga.or.th


6. ระยะเวลาการติดต่อขอรับบริการ ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2553 ถึง 31 สิงหาคม 2553
7. สมาคมนักออกแบบเรขศิลป์ได้สรุปความหมายของคำว่า “การออกแบบเรขศิลป์ (Graphic Design)” ไว้ในระเบียบวาระของสมาคมฯ ปี พ.ศ. 2553 ไว้ดังนี้ “กระบวนการสร้างสรรค์ หรือการออกแบบเพื่อใช้ในการสื่อสาร อันเกิดจากการผสมผสานของ แนวความคิด ศิลปะ เทคโนโลยี หรือข้อมูล ผ่านทางสื่อในรูปแบบต่างๆ โดยมีองค์ประกอบที่ใช้ในการทำงานอันประกอบด้วยภาพ และหรือ ตัวอักษร เป็นสำคัญ ผู้ออกแบบอาศัยทักษะ ทฤษฎี หลักการ หรือ กระบวนการคิด มาช่วยในการแก้ปัญหา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร การเข้าถึงข้อมูล หรือในการรับรู้”ซึ่งอาจจำแนกออกเป็นแขนงต่างๆได้ 12 แขนงดังนี้
• สิ่งพิมพ์ทั่วไป (Print) เช่น ปฏิทิน โปสเตอร์ แผ่นพับ การ์ด แค็ตตาล็อก ไดเร็กเมล์ โฆษณา ในสื่อสิ่งพิมพ์ เป็นต้น
• หนังสือ (Book) เช่น รายงานประจำปี หนังสือเฉพาะกิจ พ็อกเก็ตบุ๊คส์ เป็นต้น
• นิตยสาร วารสาร หนังสือพิมพ์ (Editorial Design)
• กราฟิกบนผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ (Graphic on Product and Packaging)
• งานออกแบบที่เกี่ยวกับตัวอักษร (Typographic Design & Lettering, Type Design) การจัดวางตัวอักษร การใช้ตัวอักษรในงานออกแบบ การออกแบบอักษรประดิษฐ์ รวมถึงการออกแบบชุดตัวพิมพ์
• ตราสัญลักษณ์ โลโก้ และเครื่องหมาย (Trademark, Logo, Symbol, and Iconography)
• การออกแบบอัตลักษณ์ (Identity Design) งานออกแบบกราฟิกที่เกี่ยวกับระบบในการบริหารจัดการ การควบคุม ส่วนประกอบต่างๆ ในงานออกแบบ เพื่อสะท้อนเอกลักษณ์ และหรือ ภาพลักษณ์ ให้เป็นเอกภาพ
• เรขศิลป์เพื่อสภาพแวดล้อม (Environmental Graphic) เช่น การออกแบบกราฟิกบนป้าย กราฟิกตกแต่งบนอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างทั้งแบบถาวร และไม่ถาวร
• การออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์ (New Media & Interactive) เช่น เว็บไซต์ มัลติมีเดีย เป็นต้น
• การออกแบบสื่อเคลื่อนไหว (Time-Based Media Graphics) ที่มีปัจจัยเรื่องของเวลา และการลำดับของภาพเคลื่อนไหว เช่น กราฟิกในรายการ โทรทัศน์ ในภาพยนตร์ หรือ ในการแสดง เป็นต้น
• การออกแบบเชิงข้อมูล (Information Design) เช่น แผนที่ แผนผัง แผนภูมิภาพ เป็นต้น
• การออกแบบกราฟิกสื่อผสมอื่นๆ (Mixed Media Graphic) เช่น Design Installation, Experimental Design เป็นต้น



วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

portfolio






























คร่าวๆคะมันยังไม่เส็ดทั้งเล่ม