วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2550

ความสับสนวุ่นวาย

เนื่องจากหมกมุ่นอยู่กับกฎแห่งความเรียบง่ายอยู่พักหนึ่ง นกน้อยก็ต้องบินออกจากรัง แล้วตามหาปนะเด็นของงาน หาไปหามาก็สนใจกฎข้อนึงที่เขาได้พูดไว้ว่า ไม่มีใครต้องการแต่ความเรียบง่าย ถ้าไม่ดูจากความยุ่งยาก เราก็จะไม่เห็นความเรียบง่าย
เราจะรู้สึกก็ต่อเมื่อเรามีประสบการณ์ที่แตกต่าง ประเด็นนี้แลใช่เรย
หลังจากได้ประเด็นแร้วก็ยังตึบๆตันๆอยู่เกือบสองอาทิตย์ จากพรีเซนเมื่ออาทิตย์ก่อนที่ไม่ได้คุยกับอาจารย์ก็เพราะ มีแต่ประเด็นที่ยังไม่ได้สารต่อ เลยไม่รู้จะพูดอะไรดี พอเวลาผ่านไปหลายวันเราก็ออกไปเที่ยวบ้างเปิดหูเปิดตาบ้าง เผื่อจะเจอความสับสนยุ่งยากในแบบของเรา ออกไปเจอผู้คนมากมาย จราจรวุ่นวาย สิ่งต่างๆรอบตัวก็ล้วนแต่เป็นสิ่งสับสนวุ่นวายทั้งนั้นเพราะกรุงเทพนี้เป็นเมืองที่มีพื้นที่จำกัด คนมากมายก็มุ่งเข้ามาแออัดกันอยู่ในเมืองแห่งนี้ ถ้าคนอยู่กระจายๆกันก็คงไม่วุ่นวายขนาดนี้
ทำให้เราคิดได้ว่า ความสับสนคือความมากมายหลายสิ่งที่อยู่ในพื้นที่ที่จำกัด ก็เหมือนเวลาที่เราไปเที่ยวผับ ในห้องสี่เหลี่ยมๆ เปิดเพลงมันมากก แต่ก็ช่างดูวุ่นวายสับสนไปหมดเพราะคนมันมาอัดๆกันอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมๆเยอะมาก ทุกคนตระโกนพูดคนละเรื่องทำคนละอย่างแตกต่างกันไป แต่ถ้าเราให้คนมากมายที่อยู่ในห้องสี่เหลี่ยมนี้ทำในสิ่งเดียวกัน พูดอะไรพร้อมๆเหมือนๆกันก็คงจะเรียบง่ายขึ้น เลยนึกไปถึงพวกที่อยู่ด้วยกันเยอะๆในพื้นที่ๆจำกัดแต่ไม่สับสน พวกที่อยู่กันเยอะๆแต่ทำอะไรเหมือนๆกัน ก็นึกไปเรื่อย นึกไปถึงพวกทหาร พวกแปลอักษรบนสแตนเชียร์ ก็เลยสนใจพวกกลุ่มคนที่แปลอักษรที่มีการใช้ระบบพิกเซลในการแปลอักษรหรือแผ่นภาพ
คิดได้ดังนี้จึงตัดสินใจฟันทง ว่าจะหยิบระบบพิกเซลมาทดลองทำเป็นงาน ระบบพิกเซลก็เป็นการจัดระบบสิ่งที่สับสนให้เรียบง่าย ต่อจากนี้ก็อยากไปคิดต่อในเรื่องของพิกเซล เพราะ พิกเซลนั้นสามารถแตกออกมาเป็นงานได้อีกหลายแบบขึ้นอยู่กับเราว่าจะไปทดลองทำแบบไหนต่อไป เช่นงานพิกเซลของศิลปินคนหนึ่งที่เคยเห็นในหนังสือ เขาใช้จำนวนพิกเซลให้น้อยที่สุดและสีน้อยที่สุดทำออกมาเป็นหน้าบุคคลสำคัญของโลก หรือ อย่างเช่นวันนี้ที่เราได้ดูงานของอาจารย์เอ๋ ก็เป็นการทำผลงานออกมาเป็นระบบพิกเซล กลายเป็นงานอีกรูปแบบหนึ่ง ก็เรยอยากจะทดลองระบบพิกเซลให้ออกมาเป็นงานในรูปแบบต่างๆ

คอมเม้นด้วยคะ เอาปรับปรุงแก้ไขคิดกันต่อไป ขอบคุณคะ

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2550

PIXEL

จุดภาพ หรือ พิกเซล (pixel) เป็นหน่วยพื้นฐานของภาพ คือจุดภาพบนจอแสดงผล หรือ จุดภาพในรูปภาพที่รวมกันเป็นภาพขึ้น โดยภาพหนึ่งๆ จะประกอบไปด้วยจุดภาพหรือพิกเซลมากมาย และเเต่ละภาพที่สร้างขึ้นจะมีความหนาเเน่นของจุดภาพ หรือบางครั้งแทนว่าความละเอียด (ความคมชัด)ที่เเตกต่างกันไป จึงใช้ในการบอกคุณสมบัติของภาพ จอภาพ หรือ อุปกรณ์แสดงผลภาพได้
จอภาพที่มีจำนวนพิกเซลมาก จะมีความละเอียดของภาพมาก โดยมากจะระบุจำนวนพิกเซลแนวนอน x แนวตั้ง เช่น 1366 x 768 พิกเซล
คำว่า "พิกเซล" (pixel) มาจากคำว่า "พิกเจอร์" (picture) ที่แปลว่า
รูปภาพ เเละ "เอเลเมนต์" (element) ที่แปลว่า องค์ประกอบ

ขนาดแสดงภาพมาตราฐานมาดังนี้:
VGA 0.3 ล้านพิกเซล= 640×480
SVGA 0.5 ล้านพิกเซล= 800×600
XGA 0.8 ล้านพิกเซล= 1024×768 (หรืออาจเรียก XVGA)
SXGA 1.3 ล้านพิกเซล= 1280×1024
EXGA 1.4 ล้านพิกเซล= 1400×1050
UXGA 1.9 ล้านพิกเซล= 1600×1200
QXGA 3.1 ล้านพิกเซล= 2048×1536
QSXGA 5.2 ล้านพิกเซล= 2560×2048
WQSXGA 6.6 ล้านพิกเซล= 3200×2048
QUXGA 7.7 ล้านพิกเซล= 3200×2400
WQUXGA 9.2 ล้านพิกเซล= 3840×2400

วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

Cambridge, MassachusettsPastafriesFOOD

จากการพรีเซนงานครั้งก่อนเราได้พูดถึง The Laws of Simplicity (กฎแห่งความเรียบง่าย) และได้พูดถึงกฎทั้งสิบข้อแล้ว ก็อยากจะลองศึกษากฎแห่งความเรียบง่ายจากผลงานของมาเอดะดู โดยเริ่มหยิบมาดูกันซักงาน



JOHN MAEDA; Cambridge, MassachusettsPastafriesFOOD (F zero zero D)

เปนโปรเจคงานแสดง ชิ้นแรกที่ นิวยอร์ก, เขาสร้างงานดิจิตอล abstract ( นามธรรม ) โดยจัดองค์ประกอบในเรื่องอาหาร ในเรื่องราวนี้มี เฟรนซ์ฟรายและเส้นพลาสต้า ในงานนี้เขาได้ประยุกต์ เทคโนโลยี เกี่ยวกับงานอนินทรีย์ ซึ่งอยู่ระหว่างกลางของ เฟรนซ์ฟรายและพลาสต้า และภาพนี้ได้บอกความเชื่อมโยง เกี่ยวกับความรู้สึก โดยสร้างให้แปลกประหลาด โดยใช้กฎที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการจัดระบบของความระแกะระกะให้อยู่ในที่ๆควรอยู่ ดูไม่วุ่นวายสับสน แต่ยิ่งมีความซับซ้อนมากเท่าไหร่ ในความซับซ้อนนี้ก็จะมีความเรียบง่ายเด่นชัดขึ้นมา ความสับซ้อนจากการทำซ้ำๆกันทำให้เกิดอารมณ์ที่หลากหลาย จากผลงานแกต่างๆที่พูดมาก็ทำให้นึกถึงกฎข้อนึงที่เขาได้พูดไว้ว่า ไม่มีใครต้องการแต่ความเรียบง่าย ถ้าไม่ดูจากความยุ่งยาก เราก็จะไม่เห็นความเรียบง่ายเราจะรู้สึกก็ต่อเมื่อเรามีประสบการณ์ที่แตกต่าง และเมื่อดูจากผลงานชิ้นอื่นๆของมาเอดะ ก็จะเป็นไปในทิกทางเดียวกัน งานกราฟฟิกที่ถูกทำให้เป็นความเรียบง่ายแต่อยู่บนความหลากหลายดูยุ่งยาก ให้อารมณ์หลากหลาย

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

Simplicity by maeda


เราพอจะเคยเห็นผลงานของมาเอดะผ่านหูผ่านตากันไปบ้างก็ดูแล้วสวยงามดี ภาพกราฟฟิกสวยเหล่านั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไรกันหนอ? ดูๆไปก็สวยดี แต่ไม่เห็นจะเข้าใจ งานแนวๆAbstractที่แฝงไปด้วยความหมายสำคัญๆใช่ว่าอยู่ดีดีก็จะเกิดขึ้นได้ งานเขาออกจะมีที่มาที่ไป มีหลักกฎเกณที่ถูกสร้างขึ้นโดยจอร์นมาเอดะคนนี้ เพื่อการสร้าสรรค์ผลงานของเขาเอง John Maeda ได้เขียนหนังสือชื่อ "The Laws of Simplicity"กฎแห่งความเรียบง่าย10 ข้อ

ซึ่งใครสนใจก็ไปหาหนังสือเล่มนี้มาศึกษาซะ เพราะเป็นหนังสือที่มาเอดะเขียนขึ้นเองใครได้อ่านก็เหมือนได้เรียนรู้จากมาเอดะเองมีทั้งกฎเกณ ไอเดีย แง่คิดของมาเอดะล้วนๆ


จากที่อัพบล๊อกครั้งก่อนหน้านี้ก็ได้พูดถึงเรื่อง The Laws of Simplicity ไปบ้างแร้ว และครั้งนี้ก็ค่อยๆเริ่มทำความรู้จักกฎแห่งความเรียบง่ายขึ้นทีละเล็กทีละน้อย จากประโยคที่ว่า "Simplicity is about subtracting the obvious, and adding the meaningful." ความเรียบง่ายคือการลดสิ่งที่ไม่จำเป็น และเพิ่มความหมายลงไป ก็เกิดกฎแห่งความเรียบง่ายอยู่10ข้อ ที่ทำให้ผลงานแนวAbstractที่เรียบง่ายมองแล้วไม่เข้าใจแต่แฝงไปด้วยความหมายที่เป็นไปตามกฎของมัน

1.การลด reduce



ทางที่ง่ายที่สุดในการสร้างความเรียบง่ายคือการลดอย่างมีการไตร่ตรองไว้หรือการเอาระบบการอื่นๆออก



2.จัดระบบ organize


การจัดระบบเป็นการทำให้สิ่งต่างที่มีอยู่มากมายน้อยลง


เปรียบเช่นบ้านเป็นสิ่งแรกเมื่อเผชิญกับปัญหาการจัดการความซับซ้อนยุ่งยาก


สิ่งเล็กๆมักจะเพิ่มเป็นทวีคูณ มีกลยุทธ์3ข้อในการจัดการปัญหาในชีวิตประจำวันนี้


1.ซื้อบ้านใหญ่ขึ้น


2.นำสิ่งของที่คุณไม่ต้องการใส่ไว้ในห้องเก็บของ


3.จัดระบบสิ่งของต่างๆที่ตั้งอยู่


3.เวลา Time


ไม่มีใครชอบการรอ เพื่อลดการรอเวลา หาหนทางเพื่อตอบสนองเร็ว


เราถือว่าสิ่งนั้นเป็นแนวทางในการสร้างความเรียบง่าย


การลดเวลาถือว่าเป็นสิ่งเรียบง่ายและเราชอบแบบนั้นแต่ว่ามันก็เกิดขึ้นยาก





4.การเรียนรู้ Learn


ความรู้ทำให้สิ่งต่างๆง่ายขึ้น การหมุนไขควงอาจเป็นสิ่งที่ง่ายมาก


แต่ถ้าคุณไม่ได้เรียนรู้มาก่อนก็ทำให้กลายเป็นเรื่องยากมาก


ความรู้ทำให้สิ่งต่างๆง่ายขึ้นจึงเป็นสิ่งที่ถูกต้องเสมอ


แต่ปัญหาก็คือคุณรู้สึกว่า คุณกำลังเสียเวลาเรียนรู้สิ่งๆนั้นอยู่ นั่นคุณกำลังละเลยกฎข้อที่3 อยู่นะ





5.ความแตกต่าง Differences
ความเรียบง่ายและความซับซ้อนเป็นของคู่กัน
ยิ่งเราเห็นว่าที่การตลาดมีความซับซ้อนมากเท่าไหร่ ความเรียบง่ายก็จะเด่นชัดมากขึ้นเท่านั้น และ
เนื่องด้วยเทคโนโลยียังคงดำเนินไปในทางความซับซ้อน ทำให้มีกลยุทธ์ที่ทำให้ธุรกิจเรียบง่ายขึ้นด้านการจัดการสินค้า นั่นก็คือ
ความรู้สึกเรียบง่ายในด้านการออกแบบยังต้องการความซับซ้อนเสมอๆแม้จะเป็นรูปแบบอื่นๆ





6.สิ่งแวดล้อม Context


สิ่งที่อยู่รอบนอกของความเรียบง่ายมีความสำคัญเท่ากันกับสิ่งที่อยู่ภายใน



7.อารมณ์ Emotion


อารมณ์หลากหลายย่อมดีกว่าไม่มีเลย



8.ความเชื่อใจ Trust


เราเชื่อใจในความเรียบง่าย




9.ความล้มเหลว Failure




10.ความเป็นหนึ่ง The one


ความเรียบง่ายคือการลดสิ่งที่เห็นได้ชัดออกและเพิ่มความหมายลงไป











maeda again and again

maeda ชายผู้เริ่มต้นใช้คอมพิวเตอร์สำหรับคนทุกวัย แล้วใช้ทักษะในการสร้างงานศิลปะและเสียงเริ่มสำหรับ"simplicity" ในยุค ดิจิตอล
แถมยังเขียนหนังสือThe Law of Simplicity มันคืออะไรก็ไม่รู้แค่ฟังชื่อก็ไม่เข้าใจแล้ว ก็ไปลองเปิดๆดูหนังสือThe Law of Simplicityที่ว่านี่ดูในเวปอเมซอน ก็เจอแต่ภาษาอังกฤษอีกแล้วอยากจะร้องอ่านไม่ออกทั้งหน้าเลย โชคดีที่เหลือบๆไปเจอคำจำกัดความสั้นๆ สั้นมากๆ เขียนอยู่หลังปกหนังสือว่า"Simplicity is about subtracting the obvious, and adding the meaningful."ประโยคที่ว่า ความเรียบง่ายคือการลดสิ่งที่ไม่จำเป็น และเพิ่มสิ่งสำคัญ เพราะงั้นThe Law of Simplicityก็คือ กฎของความเรียบง่าย

นี่เป็นภาพตัวอย่างในหนังสือของมาเอดะเขาใส่ประโยคเด็ดของเขาลงไปในการยก ipod shuffle และทีมพัฒนา ruby มาเป็นตัวอย่าง ว่าการทำแบบนี้เป็นความเสี่ยงมากๆ เพราะถ้าดันตัดสิ่งสำคัญออกจะทำให้คนหลงทางและ ของที่ทำมาอาจจะเสียไปเลย แต่ถ้าทำสำเร็จผลตอบแทนก็คุ้มค่า

เกินความสามารถของคนที่มันแปล เขาแปลอ้อมๆมาให้เราเข้าใจประมาน ว่าถ้าเราให้นักท่องเที่ยวดูสิ่งที่เราเห็นว่าสำคัญทั้งหมด เค้าจะไม่เห็นอะไรเลยแต่เราสามารถช่วยเค้าได้โดยเอาสิ่งสำคัญออกไปไกลๆ ให้เค้าเห็นป่าทั้งหมดเพื่อสุดท้ายแล้วเค้าจะได้เห็นต้นไม้
ถ้าเราดู Google จะเห็นว่าเค้าเอาเราออกมาไกลๆ จากความซับซ้อนในการค้นหาทั้งปวง ไม่ใช่ว่าพวกนั้นไม่สำคัญแต่เค้าพยายามให้เราเห็นป่าแทนที่จะมองต้นไม้ และหน้าแรกของ google ก็คือป่านั่นเอง พอเรา search ลงไปก็จะเริ่มเห็นจุดสำคัญทีละอย่างทั้งผลลัพธ์ในการค้นหา และเทคนิคในการค้นหามัน
ถ้าใส่ทุกอย่างมาแต่แรกสุดท้ายแล้วผู้ใช้อาจจะหาอะไรไม่เจอเลยก็ได้...
... คำพูดสั้นๆที่เราไม่เข้าใจ คนแปลทุกคนก็บ่นว่ายาก พอแปลแล้วก็เริ่มเข้าใจประโยคที่มีความหมายที่สื่อออกมาชัดเจน เราก็ค้นคว้างานของมาเอดะมากขึ้นเรื่อยๆ หวังว่ามันจะทำให้เราเข้าใจมาเอดะมากขึ้นด้วย

วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

WORK 1


งานกลุ่มworkI # John Meda and Kyle Cooper รายชื่อสมาชิก : กฤษณะพรรณ(ฮอลล์) จุฑารัตน์(มะลิง) นุชนาถ(อีฟ)




John Maeda









John Maeda หรือตัวแม่Media Art เป็นคนเปลี่ยนแปลงโลกกราฟฟิกดีไซน์ อาติส และ วิทยาศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เป็นผู้เริ่มต้นใช้คอมพิวเตอร์สำหรับคนทุกวัย แล้วใช้ทักษะในการสร้างงานศิลปะและเสียงเริ่มสำหรับ"simplicity" ในยุค ดิจิตอล

งานของMeadaเกิดขึ้นจาก การที่ใช้ อิเล็กทรอนิค มีเดีย เปนเครื่องมือ
สำหรับแสดงออก โดยการรวมกันระหว่าง ทักษะด้านคอมพิวเตอ โปรแกรม กับความ sensitivity ใน รสนิยมที่เก่าแก่ ที่เกี่ยวข้องงานนี้ช่วยให้เปนผู้ริเริ่มในการผสมผสาน ความรุ้สึกของภาษาทางกราฟฟิก
เขาเชื่อว่าคอมพิวเตอร์ไม่ได้เป็นแค่เครื่องมือแต่ยังมีความหมายอันทรงพลังเกี่ยวกับการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ Maedaได้แสดงภาษาทางgraphicที่อยู่ระหว่างนามธรรมกับงานฝีมือ กล่าวได้ว่างานของเขาเป็นการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่






Kyle Cooper








Kyle Cooper นักดีไซเนอร์กิติมศักดิ์ในวงการอุตสาหกรรม เขาคือผู้อยู่เบื่องหลังการสร้างสรรค์งานโมชั่นที่เป็นไตเติลภาพยนต์มากกว่า150เรื่อง ได้สร้างผลงานที่เป็นที่รู้จักมากมายในวงการภาพยนต์ เชื่อว่าผลงานของเขาจะต้องผ่านสายตาใครหลายๆคนมาแล้วไม่มากก็น้อย

ผลงานที่สร้างชื่อเสียงเป็นที่ฮือฮาให้แก่วงการได้แก่ผลงานเรื่อง Entertainment Weekly ที่ได้รับการยกย่องผลงานของเขาว่าเป็น
Masterpiece of Dementiaและได้รับคำชื่นชมจากผลงานมากมาย เช่น Spider-Man," "Mission Impossible," "The Island of Dr.
Moreau," "Arlington Road," "Mimic," "Dead Presidents," "Braveheart," and "Donnie Brasco."