วันอาทิตย์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2551

I am not a paper cup



"ฉันไม่ใช่ถ้วยกระดาษนะ" ถ้วยนี้เป็นอีกชิ้นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งใช้การออกแบบถ้วยที่หลากหลาย ถ้าใครเห็นครั้งแรกก็จะคิดว่ามันดูเหมือนถ้วยกระดาษและฝาปิดพลาสติก แต่ไม่ใช่เลย มันทำมาจาก แก้วดินเผา ตัวฝาเป็นซิลิโคน เหมาะจะเป็นของขวัญ ให้เพื่อนหัวอนุรักษ์หรือไม่ก็พวกสาวออฟฟิส คุณสามารถมีความสุขกับการดื่มกาแฟด้วยถ้วยนี้ แถมยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมในเวลาเดียวกัน

The Pure cup




The Pure cup ที่ออกแบบโดย Maxim Velcovsky ถ้วยพวกนี้ดูเหมือนจะเป็นแค่พลาสติกที่ใช้แล้วทิ้ง แต่ตามความเป็นจริงแล้วมันทำมาจากกระเบื้องถ้วยที่มีคุณภาพสูงและสามารถนำไปในใช้ได้หลายต่อหลายครั้ง การซื้อแก้วที่สวย ๆ ก็เหมือนกับการโยนเงินใส่ถังขยะ หรือใช้เงินโดยสิ้นเปลืองไปกับแก้วสวย ๆ พวกนี้ หลังจากที่กินหรือดื่มอาจจะต้องใช้เวลาในการล้างหรือทำความสะอาด แต่ก็ยังดีกว่าโยนมันทิ้งแล้วไปใช้แก้วอีกใบใหม่อีกใบ

วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2551

Bioplastic Cups






Bioplastic Cups and Deli Containers

ในการกินกาแฟแต่ละครั้งคุณสามารถหลีกเลี่ยงสารสเตรีนจากถ้วยแก้วได้แค่ไหน เมื่อพบว่าในละครั้งที่คุณใช้ถ้วยสตีโรโฟมที่บรรจุเครื่องดื่มร้อนและเย็น สามารถมีสารสตีรีนถึง0.025เปอร์เซนจากถ้วยแก้วแต่ละครั้ง
แต่ตอนนี้ไม่ว่าจะเครื่องดื่มร้อนหรือเย็นก็ไม่เป็นปัญหาต่อ ถ้วยTrellis Earth แก้วธรรมชาติที่ใช้ข้าวโพดเป็นส่วนหนึ่งป็นวัตถุดิบสำคัญ เป็นสิ่งแทนที่สำหรับสิ่งที่ไม่ดีต่อสุขภาพ อย่างเช่นถ้วย Styrofoam ถ้วยเหล่านี้สามารถอุ่นในไมโครเวบได้ และเมื่อถึงเวลาทิ้งถ้วยลงในถังขยะผู้บริโภคก็ไม่ทิ้งอย่างรู้สึกผิดและไม่มีสารสตีรีนในมลภาวะของเราอีกด้วย


วันอาทิตย์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2551



ถ้วยใบนี้น่าประทับใจ อย่างแรกนั้นเพราะ ไม่ว่าฐานะของแก้วนั้นจะทำให้คุณจับไม่ถนัด แต่มันก็จะไม่ทำให้หกอย่างแน่นอน ถัดมากับความประทับใจคือ คุณสามารถที่จะถืออาวุธนิวเคลียร์ไว้ในนั้นได้ และจะไม่มีการเผาไหม้ หรือเกิดปฏิกิริยากับรังสีในด้านลบ จึงทำให้แน่ใจได้ว่า โลกของเราจะไม่ได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน

สำหรับด้านบนนั้น พลังงานที่สร้างความหายนะให้กับโลก ได้มีการบ่งบอกไว้ว่า เช่นเดียวกับก้อนผ้าเช็ดปาก หรือDunkin’ Donuts มีผลิตภัณฑ์อยู่บนกระดาษที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ ในบรรจุภัณฑ์ ซึ่งคุณต้องการสำหรับเครื่องดื่มกาแฟ

ในโลกยุคปัจจุบัน Dunkin’ Donuts วางแผนที่จะขยาย 15,000 สาขาในประเทศ ภายในระยะเวลา หกปีข้างหน้านี้ ซึ่งหมายความว่าพวกเขาสามารถที่จะเข้าถึงเพื่อนบ้าน ทักทายพวกเค้าและเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำลายสิ่งแวดล้อม!! และนี่ก็เป็นเหตุจูงใจที่ทำให้โดนัท, hash browns เป็นสิ่งที่จะก่อให้เกิดหายนะ

ปัญหาแก้ว



ปัญหาที่พบมากคือ ปัจจุบันนี้เมื่อออกไปใช้ชีวิตนอกบ้าน ที่ทำงาน สิ่งที่พบกันอยู่บ่อยๆคือ ปัญหาการใช้แก้วน้ำดื่ม แก้วเหมือนจะเป็นปัญหาเล็กๆที่ถูกละเลยที่จะรณรงค์ คนมักจะหันไปใส่ใจกับปัญหาอื่นมากกว่า เช่น ปัญหาการใช้ถุงพลาสติก เรื่องการขนส่ง พลังงานเชื้อเพลิง และทรัพยากรต่างๆ
เมื่อลองคำนวนดูแล้วแก้วก็เป็นการเพิ่มจำนวนขยะอยู่มาก เมื่อมองดูปัญหาการใช้ หนึ่งคนต่อหนึ่งแก้ว หรือบางคนอาจจะมากกว่าหนึ่งแก้ว ยิ่งตามสำนักงาน หรือบุคคลวัยทำงานในองกรค์ต่างๆ ที่นิยมบริโภคชากาแฟในแต่ละวัน ตามร้านอาหารฟาตฟูส หรือแม้แต่ตามข้างถนน เป็นเรื่องที่เห็นซ้ำๆ

แก้ว
แก้วจะแยกเป็นสีๆ เวลานำไปหลอมเพื่อทำการผลิตใหม่ แบ่งเป็นแก้วใส แก้วเขียว และแก้วสีชา/น้ำตาล แก้วควรจะได้รับกลับไปรีไซเคิลมากกว่าที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ เพราะไม่ใช่แต่เรื่องของการสิ้นเปลืองทรัพยากรเท่านั้น แต่แก้วยังแตกง่าย เป็นอันตรายต่อคนที่อยู่ในระบบจัดการขยะ ทำให้สายพานหรือเครื่องมืออื่นๆ ที่ใช้ในการคัดแยกขยะเสียหาย การรีไซเคิลแก้ว ช่วยลดการใช้พลังงาน เพราะการนำแก้วเก่าไปหลอมใหม่จะใช้ความร้อนที่ต่ำกว่าการผลิตจากวัตถุดิบใหม่ได้มาก และยังประหยัดทรัพยากรได้หลายอย่าง เช่น ทรายละเอียด แร่ที่ต้องนำมาจากภูเขา และสารเคมีอื่นๆ ที่ต้องนำเข้า เป็นต้นแก้วที่เราใช้กันในชีวิตประจำวันมักจะเป็นขวด

และยังมีแก้วน้ำจำพวกที่เป็นพลาสติก โฟม ที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน แก้วน้ำ กระปุกใส่อาหารต่างๆ เมื่อใช้เสร็จแล้ว และจะทิ้งเพราะเก็บไว้ใช้ประโยชน์อื่นไม่ได้ เราเพียงกลั้วน้ำล้างให้สะอาดจากเศษอาหารที่จะบูดเน่า แล้วก็เก็บไว้ขายหรือให้ซาเล้ง จัดอยู่ในประเภทขยะพลาสติก

พลาสติกเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปิโตรเคมี จึงมีหลายประเภท เราสังเกตได้จากหมายเลขที่ปั๊มไว้ที่ก้นภาชนะนั้นๆ (Cryptic Marker) พลาสติกส่วนมากจะรีไซเคิลได้ แต่ต้องคัดแยกกันสักนิด เพราะไม่ใช่ทุกหมายเลขที่จะรีไซเคิลได้ ถ้าเป็นเบอร์ 1 (Polyethylene Terephthalate (PET) – เช่น ขวดน้ำดื่ม หลอดใส่ครีมกันแดด) และ 2 (High-Density Polyethylene (HDPE) – เช่น ขวดนม ขวดน้ำมัน) จะรีไซเคิลได้แน่ๆ การรีไซเคิลพลาสติกต้องแยกให้ถูกต้องตามแต่ละประเภท เพราะจะมีผลต่อการผลิตมาก

แก้วที่รีไซเคิลไม่ได้ คือ กระจก กระจกเงา หลอดไฟ เซรามิค/Pyrex (http://www.efe.or.th/)

แก้วล้นเมือง


ปัญหาขยะมูลฝอย
ปัญหาขยะมูลฝอย เริ่มจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมมากขึ้น และคาดว่า ในอนาคตจะเป็นปัญหาที่สำคัญ ที่จะต้องเร่งดำเนินการป้องกันแก้ไข เนื่องจากขยะมูลฝอยทั้งจากครัวเรือนและโรงงานอุตสาหกรรมมีปริมาณสูงถึง 2 แสนตันต่อปี
ขยะและสิ่งปฏิกูลนับว่าเป็นปัญหาของสังคมสมัยใหม่ ทั้งที่เป็นสังคมเมืองและสังคมอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้นอกจากขยะและสิ่งปฏิกูลจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นแล้ว ขยะและสิ่งปฏิกูลเหล่านั้นยังคงมีความเน่าเสีย หรือความเป็นพิษต่อระบบนิเวศน์ และต่อสุขภาพอนามัยที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น สมัยก่อนขณะที่บ้านเมืองยังไม่ได้พัฒนา ประชาชนยังมีจำนวนอยู่น้อย และอยู่กระจัดกระจายทั่วไป การทิ้งขยะและสิ่งปฏิกูลก็มิได้มีการเก็บอย่างเป็นระบบเช่นในปัจจุบัน ประชาชนมักจะทิ้งขยะและสิ่งปฏิกูลลงพื้นดิน บริเวณบ้าน ในที่สาธารณะ และในแหล่งน้ำต่าง ๆ เนื่องจากปริมาณขยะมีน้อยจึงไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อธรรมชาติหรือระบบนิเวศน์ เพราะขยะและสิ่งปฏิกูลจะถูกย่อยสลายหรือถูกดูดซึมเข้าไปกับธรรมชาติ นอกเสียจากในบางครั้งเมื่อมีโรคระบาดเกิดขึ้นก็อาจก่อเกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ในบางช่วงเวลาเท่านั้น


How to Reduce Your Waste

การลดปริมาณขยะ
หลักง่ายๆ ในการลดปริมาณขยะก็คือ หลัก 1A 3R นั่นคือ Avoid, Reduce, Reuse, Recycle หลักการเหล่านี้เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมง่ายๆ ที่ไม่ได้ลดทอนความสะดวกสบายของเรามากนัก ไม่เกิดความเสี่ยงต่อโรคภัยและสุขภาพ แต่สามารถช่วยประหยัดทรัพยากร ประหยัดพลังงานในการผลิต ประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่ายในการกำจัด ช่วยลดปริมาณขยะที่จะลงหลุมฝังกลบในแต่ละวัน และช่วยสิ่งแวดล้อมได้


Avoid – หลีกเลี่ยงหลีกเลี่ยง หรืองดใช้ของที่ไม่จำเป็น ของที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งเลย ของที่ใช้เป็นธรรมเนียม-ไม่ต้องใช้ก็ได้ แต่เคยชิน เช่น หลอดกาแฟ ถุงพลาสติก ขวดน้ำอัดลมวันเวย์ จานชามถ้วยที่ใช้แล้วทิ้งเลย กระดาษห่อของขวัญที่ย่อยสลายไม่ได้ การ์ดอวยพรต่างๆ มีดโกนพลาสติก กล่องยูเอชที (UHT) รวมถึงของกระจุกกระจิกที่ซื้อมาแล้วทำประโยชน์อะไรไม่ได้ แป๊บเดียวก็ต้องทิ้งกลายเป็นขยะ เป็นต้น

Reduce – ลดหากไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้หรือบริโภคของบางอย่างได้เสียทีเดียว ก็พยายามใช้ให้น้อยลง สิ่งของที่เป็นคล้ายๆ กับพวกที่กล่าวมาแล้วข้างบน
Reuse – ใช้ซ้ำพยายามใช้ของที่มีอยู่แล้วให้เกิดประโยชน์ที่สุด รวมถึงการ Repair หรือซ่อมแซมของที่ยังใช้ได้อยู่ มันจะได้ไม่กลายเป็นขยะเร็วเกินไป และการบริจาคสิ่งของที่เราไม่ต้องการแล้ว แต่อาจจะยังเป็นประโยชน์กับคนอื่นได้ ก็ควรบริจาคแทนที่จะทิ้งลงไปในถังขยะธรรมดา กระดาษก็ใช้ทั้งสองหน้าก่อนแล้วค่อยทิ้ง


Recycle – แปรรูปนำกลับมาใช้ใหม่วัสดุที่สามารถนำไปผ่านกระบวนการรีไซเคิลได้ ถือเป็นวัตถุดิบที่มีค่าสำหรับอุตสาหกรรมอื่น มันไม่ใช่เป็นแต่เพียงขยะชิ้นหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นถ้าเราเปลี่ยนมุมมองเสียใหม่ และเปลี่ยนวิธีการทิ้งวัสดุพวกนี้ใหม่ เพื่อให้มันได้กลับไปยังกระบวนการผลิตได้อย่างสะดวก ผลจากการกระทำเช่นนี้ของพวกเราหลายๆ คนในสังคมจะสร้างประโยชน์มหาศาลให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมของเมืองไทยได้