เนื่องจากหมกมุ่นอยู่กับกฎแห่งความเรียบง่ายอยู่พักหนึ่ง นกน้อยก็ต้องบินออกจากรัง แล้วตามหาปนะเด็นของงาน หาไปหามาก็สนใจกฎข้อนึงที่เขาได้พูดไว้ว่า ไม่มีใครต้องการแต่ความเรียบง่าย ถ้าไม่ดูจากความยุ่งยาก เราก็จะไม่เห็นความเรียบง่าย
เราจะรู้สึกก็ต่อเมื่อเรามีประสบการณ์ที่แตกต่าง ประเด็นนี้แลใช่เรย
หลังจากได้ประเด็นแร้วก็ยังตึบๆตันๆอยู่เกือบสองอาทิตย์ จากพรีเซนเมื่ออาทิตย์ก่อนที่ไม่ได้คุยกับอาจารย์ก็เพราะ มีแต่ประเด็นที่ยังไม่ได้สารต่อ เลยไม่รู้จะพูดอะไรดี พอเวลาผ่านไปหลายวันเราก็ออกไปเที่ยวบ้างเปิดหูเปิดตาบ้าง เผื่อจะเจอความสับสนยุ่งยากในแบบของเรา ออกไปเจอผู้คนมากมาย จราจรวุ่นวาย สิ่งต่างๆรอบตัวก็ล้วนแต่เป็นสิ่งสับสนวุ่นวายทั้งนั้นเพราะกรุงเทพนี้เป็นเมืองที่มีพื้นที่จำกัด คนมากมายก็มุ่งเข้ามาแออัดกันอยู่ในเมืองแห่งนี้ ถ้าคนอยู่กระจายๆกันก็คงไม่วุ่นวายขนาดนี้
ทำให้เราคิดได้ว่า ความสับสนคือความมากมายหลายสิ่งที่อยู่ในพื้นที่ที่จำกัด ก็เหมือนเวลาที่เราไปเที่ยวผับ ในห้องสี่เหลี่ยมๆ เปิดเพลงมันมากก แต่ก็ช่างดูวุ่นวายสับสนไปหมดเพราะคนมันมาอัดๆกันอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมๆเยอะมาก ทุกคนตระโกนพูดคนละเรื่องทำคนละอย่างแตกต่างกันไป แต่ถ้าเราให้คนมากมายที่อยู่ในห้องสี่เหลี่ยมนี้ทำในสิ่งเดียวกัน พูดอะไรพร้อมๆเหมือนๆกันก็คงจะเรียบง่ายขึ้น เลยนึกไปถึงพวกที่อยู่ด้วยกันเยอะๆในพื้นที่ๆจำกัดแต่ไม่สับสน พวกที่อยู่กันเยอะๆแต่ทำอะไรเหมือนๆกัน ก็นึกไปเรื่อย นึกไปถึงพวกทหาร พวกแปลอักษรบนสแตนเชียร์ ก็เลยสนใจพวกกลุ่มคนที่แปลอักษรที่มีการใช้ระบบพิกเซลในการแปลอักษรหรือแผ่นภาพ
คิดได้ดังนี้จึงตัดสินใจฟันทง ว่าจะหยิบระบบพิกเซลมาทดลองทำเป็นงาน ระบบพิกเซลก็เป็นการจัดระบบสิ่งที่สับสนให้เรียบง่าย ต่อจากนี้ก็อยากไปคิดต่อในเรื่องของพิกเซล เพราะ พิกเซลนั้นสามารถแตกออกมาเป็นงานได้อีกหลายแบบขึ้นอยู่กับเราว่าจะไปทดลองทำแบบไหนต่อไป เช่นงานพิกเซลของศิลปินคนหนึ่งที่เคยเห็นในหนังสือ เขาใช้จำนวนพิกเซลให้น้อยที่สุดและสีน้อยที่สุดทำออกมาเป็นหน้าบุคคลสำคัญของโลก หรือ อย่างเช่นวันนี้ที่เราได้ดูงานของอาจารย์เอ๋ ก็เป็นการทำผลงานออกมาเป็นระบบพิกเซล กลายเป็นงานอีกรูปแบบหนึ่ง ก็เรยอยากจะทดลองระบบพิกเซลให้ออกมาเป็นงานในรูปแบบต่างๆ
คอมเม้นด้วยคะ เอาปรับปรุงแก้ไขคิดกันต่อไป ขอบคุณคะ
วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2550
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น